Full Program Specification:

คำอธิบาย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยอาหาร

(Master of Science Program in Food Safety Management)

ชื่อย่อหลักสูตร
วท.ม. (การจัดการความปลอดภัยอาหาร)
ระดับ
ปริญญาโท
รูปแบบของหลักสูตร
เต็มเวลา
ช่วงเวลาในการสมัคร
Website

Details

คุณสมบัติของผู้รับเข้า

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อกำหนดต่างๆ เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 

  1. มีคุณสมบัติเพิ่มเติม รับผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่อไปนี
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
    • อุตสาหกรรมเกษตร
    • เทคโนโลยีอาหาร
    • เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรมอาหาร
    • สาขาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการประจำหลักสูตร
  2. มีคุณสมบัติเฉพาะ
    • แผน ก แบบ ก 2  และ แผน ข แบบที่ 1 (สหกิจศึกษา)
      • เป็นผู้ที่จบการศึกษา และ ไม่มีประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรืองานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหาร
      • มีทักษะในการประมวลและบูรณาการความรู้
      • สามารถเป็นนักศึกษาเต็มเวลาแผน ข แบบที่ 2
    • แผน ข แบบที่ 2
      • เป็นผู้ที่กำลังทำงานประจำเต็มเวลา และเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรืองานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหารอย่างน้อย 1 ปี
      • เป็นผู้ที่มีทักษะในการประมวลและบูรณาการความรู้  

ทั้งนี้ แผนการศึกษาของนักศึกษาให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการประจำหลักสูตร ร่วมกับกรรมการสอบ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ และ ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การอาหารในการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจดำเนินการจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างเป็นระบบตลอดโซ่อุปทานอาหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. ส่งเสริมและเพิ่มพูนงานวิชาการและงานวิจัยด้านความปลอดภัยอาหาร ระบบคุณภาพ และการจัดการความปลอดภัยอาหารที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ และ/หรืออ้างอิงสำหรับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
คุณลักษณะของบัณฑิต

บัณฑิตมีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การอาหารในการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจดำเนินการจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างเป็นระบบตลอดโซ่อุปทานอาหาร  

ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน
  1. ห้องปฎิบัติการที่ครบตามการเรียนการสอน
  2. ห้องวิจัย
  3. ห้องสัมมนา
  4. ห้องพักนักศึกษา

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผนและควบคุมการผลิต ควบคุมและประกันคุณภาพ เป็นต้น
  2. สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระ โดยทำหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนา รวมทั้งนักวิเคราะห์โครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นต้น
  3. สามารถประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจอาหาร
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
แบบเหมาจ่าย 40,000 บาท ต่อภาคการศึกษา